f
title
สำนักงานทางหลวงที่ 1
Office of Highways 1 (Chiangmai)
วิสัยทัศน์ : " ทางหลวง สะดวก ปลอดภัย และสวยงามทั่วล้านนา "
อธิบดีกรมทางหลวงสั่งเฝ้าระวัง 3 พันเส้นทาง 7 หมื่น กม. ออก 6 มาตรการเร่งด่วนรับมือน้ำท่วมดินถล่ม รีบช่วยประชาชนถนน - สะพานขาดแก้ไขทันที
ลงวันที่ 08/06/2563
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน เกิดฝนและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกิดวาตภัย ต้นไม้ล้มทับทาง ดินโคลนถล่ม ส่งผลกระทบต่อระบบคมนาคมขนส่ง และการสัญจรของประชาชนผู้ใช้ทางบนโครงข่ายถนนของ ทล. กว่า 3,000 เส้นทาง ระยะทางรวมทั้งหมด 72,000 กม. ทั่วประเทศเพื่อป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ทั้งสำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง และหมวดทางหลวงทั่วประเทศ ดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้.-
 
1.ให้ตรวจสอบสภาพความเรียบร้อยของผิวทาง ต้องไม่มีหลุมบ่อพร้อมสำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ ตรวจสอบสะพาน ท่อระบายน้ำ ร่องน้ำในเขตทางให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานและดำเนินขุดลอกร่องระบายน้ำบริเวณสองข้างทาง ทำความสะอาดอาคารระบายน้ำ กำจัดขยะเศษวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางระบายน้ำรวมทั้งตัดแต่งกิ่งต้นไม้ และจัดเตรียมเครื่องจักร ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ สิ่งอำนวยความปลอดภัย ป้ายจราจร และป้ายจราจรแบบเคลื่อนที่ (Knock Down) หลักนำทาง และไฟกระพริบ ให้สามารถใช้งานทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ นายสราวุธ กล่าวต่อว่า
2.กรณีเมื่อเกิดภัยพิบัติ ให้หน่วยงานในพื้นที่เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้น
3.เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนให้ดำเนินการแก้ไขทันที พร้อมทั้งรายงานระดับผู้บริการ ทล. ให้ทราบทันทีและรายงานอย่างต่อเนื่อง จนกว่าเหตุการณ์จะยุติลง
4.เมื่อเกิดเหตุทางขาด หรือสะพานขาด หรือชำรุด ให้ขอความร่วมมือจากศูนย์สร้างทาง ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน เพื่อขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรและสะพานเบลี่ย์ ให้เข้าดำเนินการแก้ไขร่วมกับแขวงในพื้นที่
5.ติดตามและรายงานข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าระบบบริหารงานภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน (EMS) พร้อมกับอัพเดทสถานการณ์หรือภาพถ่ายอย่างต่อเนื่อง จนกว่าเหตุการณ์จะปกติและยุติการในระบบทันที และ 6.ให้ทุกหน่วยงานติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ การเตือนภัยของกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิด
 
นายสราวุธ กล่าวอีกว่า รวมทั้งดูแลทางเดินเท้าฟุตบาทปรับปรุงให้ปลอดภัยช่วงหน้าฝน ไม่เปรอะเปื้อน โดยเฉพาะถนนที่ผ่านชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล พร้อมจัดเตรียมเจ้าหน้าที่วัสดุและชิ้นส่วนสะพานเบลี่ย์ เครื่องจักร ยานพาหนะ สนับสนุนทุหน่วยงานที่ในกรณีถนนหรือสะพานขาด ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามสภาพเส้นทางการจราจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ต้องการความช่วยเหลือ หรือพบเหตุบนทางหลวง เช่น ต้นไม้ล้ม ทางขาด แจ้งได้ที่สายด่วนกรมฯ 1586 ตลอด 24 ชม.
 
 
ขอขอบคุณที่มาข่าวและภาพข่าว : FACEBOOK ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์

'